Smart City, Smart Discovering เมืองอัจฉริยะและรูปแบบการเรียนรู้หลังยุคโควิด

วีดิทัศน์ เรื่อง “Smart Town, Good Finding out เมืองอัจฉริยะและรูปแบบการเรียนรู้หลังยุคโควิด” บรรยายโดย ดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart City สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2022 หัวข้อ “Learning City and Lifelong Discovering Ecosystem”

ดร.นน อัครประเสริฐกุล เสนอว่า “ถ้าเมืองฉลาดแต่คนไม่ฉลาด ก็คงไปด้วยกันไม่ได้ ขณะเดียวกัน ถ้าคนฉลาดแต่เมืองไม่ได้รับการพัฒนาให้ฉลาดด้วย ก็คงมีปัญหาไม่แพ้กัน การจะรักษาข้อดีของเมืองให้คงอยู่ และแก้ไขข้อเสียของเมืองให้หมดไป ต้องมีคนที่กล้าคิด กล้าทำ และฉลาดขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมืองฉลาดขึ้น”

อิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลรวมทั้ง COVID-19 ได้ผลักดันให้โลกใบนี้มีลักษณะแบบ Convergence คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและดิจิทัลรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้มนุษย์สามารถมีรูปแบบชีวิตได้ตามที่ตนต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งที่เป็นกายภาพเสมอไป รวมทั้งมีส่วนช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ให้ดีกว่าเดิม

จากแนวคิดเรื่อง ‘Flow’ ของนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน-ฮังกาเรียน Mihaly Csikszentmihalyi ซึ่งระบุว่า มนุษย์จะเรียนรู้ได้เร็ว ลื่นไหล และทำสิ่งต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างระดับความยากของงานและระดับทักษะที่ตนมี แนวคิดนี้สามารถประยุกต์เป็นแนวทางเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ชาญฉลาด ได้แก่ การเอาตัวเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ (Immersive) การเรียนรู้โดยเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้จากที่ไหนก็ได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้เทคนิคของเกมในการเรียนรู้ (Gamification) และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยเติมเต็มการเรียนรู้เหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น

ในอนาคต เทคโนโลยีจะยิ่งก้าวไปไกล และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ เช่น Metaverse, AR, VR สินทรัพย์ดิจิทัล NFT ฯลฯ ประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมคนให้มีทักษะความรู้ที่เท่าทัน สนับสนุนให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่บนพื้นฐานของนวัตกรรม มีการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ และสนับสนุนการเติบโตของเทคโนโลยีที่หลอมรวมระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน

กรณีตัวอย่างแหล่งเรียนรู้ล้ำสมัยที่น่าสนใจ เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีแห่งปูซาน หรือ BIPA ของเกาหลีใต้ ได้ลงทุนสร้าง ‘ROK Convergence Village’ พื้นที่ทดลองและทดสอบการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ ส่วนในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ก่อตั้ง Interactive Electronic Center พื้นที่สำหรับวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มาจาก ศาสตร์หลากหลายสาขา

อย่างไรก็ตาม ดร.นน ได้ให้แง่คิดและข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีในอนาคตข้างหน้าจะก้าวไปไกลแค่ไหน แต่ท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีก็มีบทบาทเป็นเพียงเครื่องมือไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ มนุษย์ควรมีวิจารณญาณในการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม โดยคำตอบอาจไม่จำเป็นต้องเป็นดิจิทัลเสมอไป

(Visited 3 times, 1 visits today)

You Might Be Interested In

LEAVE YOUR COMMENT

Your email address will not be published.